คำถามที่พบบ่อย
งานจัดหาพัสดุ
งานคลังพัสดุ

ส่วนพัสดุรวบรวมข้อคำถามที่หน่วยงานสอบถามบ่อย ๆ เพื่อเป็นคลังข้อมูลในการสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน 

งานจัดหาพัสดุ

คำตอบ : การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้เป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ พ.7 หรือ แบบ พ.7-1 ในการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 22 กำหนดให้รายงานขอซื้อขอจ้าง ตามรายการดังนี้
1) เหตุผลและความจำเป็น
2) ขอบเขตงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้างแล้วแต่กรณี
3) ราคากลาง
4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
7) การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง
    กรณีเป็นการจัดซื้อหมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมของหน่วยงานของรัฐครั้งหนึ่งไม่เกิน 10,000 บาท อ้างอิงตาม ว119 ตาราง 1 สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบพร้อมหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเสนอหัวหน้าหน่วยงานภายใน 5 วันทำการถัดไป (นับถัดจากวันที่ระบุในใบเสร็จรับเงิน)

คำตอบ : การขอซื้อขอจ้างย้อนหลังทำได้พร้อมระบุเหตุผลความจำเป็นประกอบการอนุมัติ โดยจัดทำรายงานจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ พ.7 หรือแบบ พ.7-1  

 

คำตอบ : จัดซื้อจริงในราคาสูงกว่าราคากลางไม่ได้ แต่หากหน่วยงานมีความจำเป็นและเมื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว รายการพัสดุนั้นมีราคาสูงขึ้น หน่วยงานต้องขออนุมัติเหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อจัดจ้างราคาสูงกว่าราคากลางที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม

คำตอบ : การระบุวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง (วงเงินงบประมาณ) ไม่ควรต่ำกว่าราคากลาง หากระบุวงเงินราคากลางสูงกว่าวงเงินงบประมาณ หน่วยงานต้องต่อรองราคาให้อยู่ในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ  

คำตอบ : การจัดทำรายงานผลการตรวจรับต้องรายงานผลตามที่ได้รับวัสดุจริง  เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าวัสดุ 1,500 บาท ให้จัดทำรายงานผลการตรวจรับวัสดุ 1,500 บาท เป็นต้น  และในกรณีที่หน่วยงานต้องการขอเบิกจ่ายต่ำกว่าใบเสร็จรับเงินก็สามารถดำเนินการได้โดยมีรายละเอียดชี้แจงเหตุผลประกอบ

คำตอบ : การกำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ ให้กำหนดตามวันที่ต้องการใช้งานพัสดุนั้น ๆ โดยต้องสอดคล้องกับ ช่วงระยะเวลาของกิจกรรม/โครงการนั้น ๆ

คำตอบ : การจัดซื้อจัดจ้างวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2560 ข้อ 79 ซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบเท่านั้น  กรณีการจัดซื้อวัสดุเกินวงเงินและราคากลางที่ได้รับอนุมัติ  หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องขออนุมัติราคากลางและวงเงินจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มจากวงเงินเดิมที่ได้รับอนุมัติ

คำตอบ : ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ มาตรา 100 วรรคสาม ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ไม่เกิน 100,000 บาท) จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้

คำว่า “คนหนึ่งคนใด”  หมายถึง คนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้
คำว่า “คนใดคนหนึ่ง”  หมายถึง คนหนึ่งคนเดียว

       ดังนั้นในการแต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ กรณีที่แต่งตั้งในรูปของคณะกรรมการ จะต้องดำเนินการตามระเบียบฯ ข้อ 26 ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน     สรุปการจัดซื้อจัดจ้างวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท สามารถแต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุได้ 3 กรณี ดังนี้
1) แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ 1 คน โดยระบุชื่อในช่อง “กรรมการ”
2) แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ 2 คน โดยระบุชื่อในช่อง “กรรมการ”
3) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ   โดยระบุชื่อในช่อง “ประธานกรรมการ” 1 คนและระบุชื่อในช่อง “กรรมการ” อย่างน้อย 2 คน

คำตอบ : รายงานขอซื้อขอจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ได้ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้างไว้อย่างไร ในรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างผู้ทำหน้าที่ตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้างต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติตามรายงานขอซื้อขอจ้างเท่านั้น กรณีไม่มีชื่อในรายงานขอซื้อฯ ถือว่าไม่มีหน้าที่
          กรณีที่หน่วยงานจัดทำรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ พ.7 หรือ แบบ พ.7-1 แล้วมีชื่อเลขานุการด้วย ให้หน่วยงานขออนุมัติเพิ่มชื่อของตำแหน่งเลขานุการได้ 

 

คำตอบ : ในรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ พ.7 หรือ แบบ พ.7-1 ผู้ทำหน้าที่ตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้างต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติตามรายงานขอซื้อขอจ้างเท่านั้น เว้นแต่บุคคลที่ได้รับอนุมัติตามรายงานขอซื้อขอจ้างไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หน่วยงานขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้างใหม่

คำตอบ : ในการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ตามรายการที่กำหนดในข้อ 1 ทั้ง 7 ข้อแล้ว หน่วยงานสามารถแนบเอกสารเพิ่มเติมประกอบรายงานขอซื้อขอจ้างได้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจอนุมัติ

คำตอบ : ในการจัดซื้อหมวดค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุ กรณีวงเงินเกิน 100,000 บาท โดยค่าพัสดุทุกประเภทและรายการตามตารางที่ 1 ต้องทำรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ พ.7 หรือ แบบ พ.7-1 ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
        สำหรับรายการที่ 13 ของตารางที่ 1 “ค่าวัสดุที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติงาน” เป็นรายการตามหนังสือเวียนแจ้งของกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค0406.2/ว322 ลงวันที่ 8 กันยายน 2553 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553 ที่กำหนดขึ้นตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่าย ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ ในหมวดที่ 3 ค่าวัสดุ ให้เบิกจ่ายค่าวัสดุตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ เว้นแต่ รายการต่อไปนี้ ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดหรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง

  • ค่าเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายที่จัดให้เจ้าหน้าที่ไว้ใช้ในการปฏิบัติตามหน้าที่
  • ค่าเครื่องแบบยามรักษาการณ์
  • ค่าวัสดุที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติงาน

        สำหรับ (3) เป็นรายการที่ตรงกับรายการที่ 13 ของตารางที่ 1 ตามหนังสือเวียนด่วนที่สุด ที่กค (กวจ) 0405.2/ว 119 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2561 มหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายดังกล่าว 

 

งานคลังพัสดุ

คำตอบ :  พนักงานสามารถตรวจสอบรายการพัสดุที่ครอบครองหรือรายการพัสดุที่ระบุชื่อเราเป็นผู้ดูแลพัสดุได้ ตามช่องทางดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ   https://asset.wu.ac.th/login
หรือ  Intranet > ระบบสารสนเทศ > งานสนับสนุนการดำเนินงาน > ระบบบริหารจัดการพัสดุ   

ระบบ 5

2. Login  เข้าระบบด้วย Email ของมหาวิทยาลัย
ระบบบริหารจัดการพัสดุ

3. เลือกเมนู  “รายงานครุภัณฑ์” 

ระบบ 2

4. ระบุเงื่อนไขคำค้นหา เช่น ระบุชื่อพนักงาน

ระบบ

ปรากฏรายการพัสดุที่มีชื่อพนักงานเป็นผู้ดูแลพัสดุ พนักงานสามารถตรวจสอบรายละเอียดพัสดุตามรายงานที่ปรากฏ

ระบบ 3

คำตอบ : การตรวจสอบพัสดุประจำปีเป็นการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560  ข้อ 213  ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ภายในเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณของทุกปี  ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือหัวหน้าหน่วยพัสดุตามข้อ 205  แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุในงวด 1 ปีที่ผ่านมา และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น” 

       ดังนั้น  มหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบพัสดุประจำปี ทุกๆ ปี และทุกๆ รายการที่ปรากฏอยู่ตามทะเบียนเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560  แต่ทั้งนี้  ส่วนพัสดุอยู่ระหว่างการหารือกรมบัญชีกลางว่าสามารถกำหนดแนวปฏิบัติในการตรวจสอบรายการพัสดุที่หมดมูลค่าทางบัญชีได้อย่างไรบ้างเพื่อลดภาระและเวลาในการตรวจนับของพนักงาน 

 

คำตอบ : เมื่อพบว่ามีพัสดุที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือพัสดุที่ใช้งานอยู่ชำรุดไม่สามารถใช้งานต่อไปได้  หน่วยงานสามารถแจ้งขออนุมัติจำหน่ายพัสดุได้ผ่านส่วนพัสดุ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560  ข้อ 215 และ 216 และ 219 เมื่อได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยแล้ว ส่วนพัสดุจะได้ตัดรายการพัสดุนั้นออกจากทะเบียนทรัพย์สิน  แต่หากหน่วยงานทิ้งซากพัสดุโดยไม่ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัย รายการพัสดุจะยังคงปรากฏอยู่ในทะเบียนทรัพย์สิน และเมื่อมีการตรวจสอบพัสดุประจำปีจะเกิดปัญหาพัสดุสูญหายได้ ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินการจำหน่ายพัสดุสามารถดำเนินการผ่านช่องทางดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ   https://asset.wu.ac.th/login
หรือ  Intranet > ระบบสารสนเทศ > งานสนับสนุนการดำเนินงาน > ระบบบริหารจัดการพัสดุ 

2. Login  เข้าระบบด้วย Email ของมหาวิทยาลัย

ระบบบริหารจัดการพัสดุ

3. เลือกเมนู “งานจำหน่ายพัสดุ”  เลือก “เพิ่มรายการจำหน่ายพัสดุ”

ระบบ 4

ดำเนินการตามคู่มือการใช้งานและขั้นตอนการส่งเอกสารมายังส่วนพัสดุ
(หนังสือเวียน เลขที่ อว 75 04 06 02/838  ลงวันที่  14  มีนาคม  2565)